คีลอยด์เกิดจากอะไร เข้าคลินิกแล้วจะรักษายังไงบ้าง

คีลอยด์เกิดจากอะไร เข้าคลินิกแล้วจะรักษายังไงบ้าง

  คีลอยด์จัดเป็นแผลเป็นประเภทนึงที่มีขนาดใหญ่และสร้างความไม่สบายใจ(และสบายตา)เป็นอย่างมาก และคำถามที่หมอเจอบ่อยมากในคลินิกก็คือจะรู้ได้อย่างไรว่าแผลเป็นนี้เป็นแผลเป็นนูนหรือคีลอยด์ แล้วมันเกิดจากอะไร มีวิธีรักษาอย่างไรกันบ้าง เรามาดูรายละเอียดกันค่ะ

รักษา คีลอยด์

เคสรีวิวรักษาคีลอยด์/แผลเป็นนูน
ด้วยเลเซอร์และยา ลด 50%

คีลอยด์ (Keloids) คืออะไร?

  แผลเป็นนูนที่เกิดจากการซ่อมแซมอย่างผิดปกติทำให้มีขนาดใหญ่นูนกว่ารอยแผลเดิมกว่า อาจเกิดภายหลังเกิดหลังเกิดแผลทันทีหรืออาจเกิดเมื่อแผลหายดีแล้ว

คีลอยด์มีลักษณะอย่างไร?

  • ก้อนแผลเป็นนูนอาจเป็นก้อนหรือเป็นขีดหนาตามลักษณะของแผลเดิม ขยายขนาดได้เรื่อยๆ
  • มีสีแดง น้ำตาลหรือม่วงเข้ม
  • เวลาจับจะแข็งๆแน่นๆคล้ายยางลบ
  • โดยจะมีขนาดใหญ่กว่ารอยแผลเดิมมาก
  • อาจมีอาการคัน เจ็บๆ แสบๆ ร่วมด้วย

คีลอยด์เกิดตำแหน่งไหน?

  สามารถเกิดได้ทุกตำแหน่งที่เกิดการบาดเจ็บของผิว ไม่ว่าจะเป็นการเจาะหู รอยเกา รอยถลอก รอยแผลสิว รอยผ่าตัด แผลอีสุกอีใส

ทำไมถึงเกิดคีลอยด์?

  • เชื่อว่าเกิดจากกรรมพันธุ์ ถ้าพ่อแม่เป็น ลูกมีโอกาสเป็น
  • จากการศึกษาพบว่าเกิดในคนที่ผิวเข้มมากกว่าคนผิวขาว โดยคนแอฟริกา คนเอเชีย คนลาตินพบว่าเกิดคีลอยด์มากกว่าฝรั่งขาวหรือคอเคเซียน

คีลอยด์อันตรายหรือไม่?

  ไม่ก่อให้เกิดอันตราย ปกติเราจะรักษาด้วยสาเหตุเรื่องของความสวยงามหรือมีอาการเจ็บแสบคัน

จะรู้ได้อย่างไรว่า เราเป็นแผลคีลอยด์ได้ง่ายหรือไม่?

  • ดูจากแผลปลูกฝี BCG ตอนทารกที่ต้นแขน
  • ประวัติคนในครอบครัว มีคีลอยด์ง่าย

เราสามารถป้องกันการเกิดคีลอยด์ได้อย่างไร?

  • ผู้ที่เกิดคีลอยด์ง่าย ควรระวังการเกิดแผลเพราะมีโอกาสที่แม้แต่การเจาะหูก็อาจได้ตุ้มหูคีลอยด์แถมมา
  • ใช้แผ่นซิลิโคนแปะแผลไว้หลังจากเกิดแผล แต่ผลที่ได้ก็ไม่แน่นอน

คีลอยด์หายเองได้หรือไม่?

  คีลอยด์ไม่สามารถยุบลงเองได้ ต้องทำการรักษา

คลินิก รักษา คีลอยด์

เคสรีวิวรักษาคีลอยด์/แผลเป็นนูน
ด้วยเลเซอร์และยา ลด 50%

คีลอยด์รักษาอย่างไร?

  การรักษามีหลายวิธีขึ้นกับขนาดและตำแหน่งเช่นการฉีดยาให้คีลอยด์ยุบ การใช้เลเซอร์หรือความเย็นจี้ออก การใช้เลเซอร์ลดความแดง การผ่าตัดเอาก้อนคีลอยด์ออก การใช้แผ่นแปะกดก้อนคีลอยด์ไว้ แต่ไม่ว่าเป็นการรักษาแบบไหนก็มีโอกาสที่คีลอยด์จะกลับมาเป็นซ้ำ หลังรักษาตัวหมอเองจะแนะนำให้คนไข้ใช้แผ่นซิลิโคนแปะแผลไว้เสมอ

การฉีดยารักษาคีลอยด์ทำอย่างไร? ต้องทำกี่ครั้ง?

  ตัวยาที่ใช้หลักในการฉีดคือคอร์ติโคสเตียรอยด์ เป็นการรักษาตามมาตรฐานที่ปลอดภัยและไม่เจ็บมาก โดยแพทย์จะเป็นผู้ฉีดตัวยาเข้าไปในก้อนคีลอยด์ ทำเดือนละ 1 ครั้งต่อเนื่องไปเรื่อยจนกระทั่งคนไข้พอใจ

การผ่าคีลอยด์ออกทำอย่างไร? เจ็บแต่จบหรือไม่?

  คือการตัดก้อนคีลอยด์ออกแล้วเย็บขอบแผลมาชนกัน เป็นหนึ่งในวิธีรักษาคีลอยด์ แต่ก็ถือว่ามีความเสี่ยงเพราะการผ่าตัดก็ทำให้ผิวเกิดการบาดเจ็บ มีโอกาสที่คีลอยด์จะกลับมาเป็นซ้ำ ดังนั้นหลังทำแพทย์จะใช้วิธีอื่นร่วมด้วยเช่นการฉีดยาหรือการกดด้วยแผ่นซิลิโคน

คีลอยด์เมื่อรักษาแล้วมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำหรือไม่?

  คีลอยด์ถือเป็นโรคที่รักษายาก เมื่อรักษาไปแล้วมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำถึง 50%

แผลนูนทุกชนิดคือคีลอยด์หรือไม่?

ไม่ใช่ แผลเป็นนูนจะมีอยู่ 2 ชนิดคือ
  1. แผลเป็นนูนเกิน (Hypertrophic scar)
  2. คีลอยด์ (Keloid)
แผลเป็นนูน คีลอยด์ เกิดจาก

แผลนูนเกิน (Hypertrophic scar) ต่างจากแผลคีลอยด์ (Keloid)อย่างไร?

ความต่างคือ
  • แผลนูนเกิน เกิดได้กับทุกคน มักเกิดในบริเวณที่มีความตึงมาก ขนาดไม่ใหญ่กว่าแผลเดิม สูงไม่เกิน 4 มิลลิเมตร แผลมีสีเนื้อหรือน้ำตาลอ่อน หายเองได้ภายใน 6 เดือนถึง 3 ปี
  • แผลคีลอยด์มีกรรมพันธุ์มาเกี่ยวข้อง เกิดได้ทุกที่ที่ผิวบาดเจ็บ ขนาดใหญ่กว่าแผลเดิมมาก ขยายขนาดได้เรื่อยๆ ก้อนแข็งคล้ายยางลบ มีสีแดง น้ำตาลหรือม่วง ไม่หายเอง

รักษาคีลอยด์
ที่มิ่งขวัญคลินิก

คีลอยด์เกิดจากอะไร เข้าคลินิกแล้วจะรักษายังไงบ้าง Read More »

หลุมสิว รู้จักวิธีป้องกันและรักษาก่อนเข้าคลินิกกัน

หลุมสิว รู้จักวิธีป้องกันและรักษาก่อนเข้าคลินิกกัน

  หลุมสิว หน้าปรุเป็นปัญหาน่าหนักใจ รักษายาก ไหนจะต้องทำเข้าคลินิกเพื่อเลเซอร์แถมต้องใช้เวลารักษานานอีก ทำให้ผู้มีปัญหาหมดความมั่นใจไปมาก บทความนี้หมอเขียนขึ้นมาเพื่อให้คนไข้เข้าใจว่าหลุมสิวคืออะไร เกิดได้อย่างไร มีกี่ประเภท ป้องกันและรักษาอย่างไรค่ะ

หน้ามันเกิดจากสาเหตุอะไร?

  เป็นรอยแผลเป็นชนิดหนึ่งที่เกิดการบุ๋มลงไปของผิว ทำให้ผิวเป็นรู ดูปรุ ไม่เรียบเนียน

หลุมสิวเกิดจากอะไร?

  • เกิดจากการอักเสบของผิว ทำให้เกิดการทำลายของผิวตั้งแต่ผิวด้านบนถึงไขมันใต้ผิว เมื่อมีการซ่อมแซมจนแผลสมานหายดีแล้ว ไม่สามารถเติมเต็มเนื้อเยื่อที่ถูกทำลายได้ ทำให้ผิวบุ๋มลงไป รวมถึงยังกระตุ้นให้มีการสร้างผังผืดมายึดใต้ผิว ดึงหลุมสิวให้ลึกลงไปอีก
  • ความลึกและขนาดขึ้นกับความรุนแรงของการอักเสบ

หลุมสิวมีกี่ประเภท?

  แบ่งได้ 3 ชนิดคือ หลุมแบบคลื่น หลุมกล่อง หลุมจิก

หลุมสิว สาเหตุ ประเภท
  1. หลุมคลื่น (Rolling scar) ลักษณะคล้ายคลื่น ขอบหลุมไม่คม โค้งคล้ายกระทะ(ขนาดประมาณ4-5 มิลลิเมตร) เกิดจากการที่แผลมีผังผืดมาดึงรั้ง
  2. หลุมกล่อง (Boxcar scar) ลักษณะคล้ายกล่อง ปากกว้าง(ขนาดประมาณ 1.5-4 มิลลิเมตร) ก้นแผลกว้าง ขอบหลุมจะคมชัด เป็นแผลที่เกิดในอีสุกอีใสหรือสิว
  3. หลุมจิก( Ice pick scar) ลักษณะเป็นหลุมปากแคบ(ไม่เกิน 2 มิลลิเมตร) ก้นแผลแหลม คล้ายรูปกรวย มีการทำลายไปถึงชั้นหนังแท้ เป็นชนิดที่ลึกสุดและรักษายากสุด

ดูรูปรีวิว
รักษาหลุมสิวเพิ่มเติม

สิวแบบไหนทำให้เกิดหลุมสิว?

  • สิวที่มีการอักเสบทุกชนิดทำให้เกิดหลุมสิวได้ เช่น
    • สิวอักเสบตุ่มแดง (Papule acne) สิวอักเสบขนาดเล็ก มีการแดงรอบรูขุมขน ยังไม่เป็นก้อนหรือไต
    • สิวหัวหนอง (Pustule acne) สิวที่เป็นตุ่มหนอง
    • สิวเป็นไตๆ (Nodule acne) สิวที่จับแล้วเป็นไตๆ แข็ง
    • สิวหัวช้าง (Cystic acne) จับแล้วนิ่มๆ ถ้าเจาะจะเป็นหนองปนเลือด
  • ยิ่งความรุนแรงมาก เป็นหนองมาก ยิ่งมีโอกาสเกิดหลุมรุนแรง

กลไกที่ทำให้สิวอักเสบคืออะไร?

สิว สาเหตุ กลไก
  • เริ่มจากต่อมไขมันขับน้ำมันออกมา หากมีการขับหรือระบายน้ำมันไม่ทัน จะเกิดการค้างหรือสะสมน้ำมันในรูขุมขน
  • น้ำมันที่ผลิตออกมาออกมายังกระตุ้นให้เซลล์บริเวณรูเปิดรูขุมขนสร้างขี้ไคลมากกว่าปกติ ทำให้รูขุมขนถูกปิด ส่งผลให้เกิดการสะสมน้ำมันในรูขุมขนมากขึ้นกว่าเดิม
  • เมื่อเกิดการปิดของรูขุมขน จะเกิดภาวะไร้ออกซิเจน ทำให้เชื้อแบคทีเรีย Cutibacterium acnes เพิ่มจำนวนมากขึ้น เนื่องจาก Cutibacterium acnes เป็นแบคทีเรียที่ไม่ต้องการออกซิเจนหรือanaerobes แบคทีเรียตัวนี้จะปล่อยเอนไซม์ออกมาย่อยสลายไขมัน เพิ่มปริมาณสารกระตุ้นอักเสบ ส่งผลให้มีการอักเสบตามมา
  • การอักเสบเป็นกลไกที่ร่างกายพยายามทำลายสิ่งแปลกปลอมและเชื้อโรค โดยเม็ดเลือดขาวหลายชนิดจะพยายามมาล้อมหัวสิวไว้ แล้วปล่อยเอมไซม์เพื่อย่อย และกินหัวสิว เอนไซม์ที่ปล่อยออกมานอกจากช่วยกำจัดหัวสิวและเชื้อแบคทีเรียแล้ว ยังทำลายผิวส่วนที่ดีด้วย ทำให้เกิดหลุมสิวตามมาได้

จะรู้ได้อย่างไรว่าสิวอักเสบหรือไม่?

  ดูง่ายๆ คือ มีอาการปวด บวม แดง ร้อน เป็นหนอง

สิวไม่อักเสบเช่นสิวหัวดำ สิวหัวขาวไม่ทำให้เกิดหลุมใช่หรือไม่?

  ใช่ ถ้าสิวไม่อักเสบจะไม่ทำให้เกิดหลุมสิว

เราจะป้องกันไม่ให้เกิดหลุมสิว หน้าปรุได้อย่างไร?

  • เริ่มตั้งแต่วัยรุ่น ให้รีบรักษาอย่างถูกวิธีตั้งแต่เริ่มเป็นสิว ไม่ควรปล่อยให้สิวเรื้อรัง เป็นความเข้าใจที่ผิดที่มองว่าสิวในวัยรุ่นเป็นเรื่องเล็ก เดี๋ยวโตขึ้นก็ดีเองเพราะปัญหาสิว หลุมสิวเป็นปัญหาที่ส่งผลถึงความมั่นใจระยะยาว
  • ไม่ควรจิก แกะ บีบสิวเอง
    • การจิก แกะ บีบสิวเองอย่างไม่ถูกวิธี ถ้าสิวออกไม่หมดจะทำให้ปัญหาสิวลุกลามยิ่งขึ้น จากสิวไม่อักเสบกลายเป็นอักเสบกินเนื้อ
  • ถ้าเป็นผู้มีปัญหาสิวเรื้อรัง เมื่อรักษาสิวหายแล้ว ควรทายาสิวต่อเนื่องเพื่อป้องกันและผลัดหัวสิวออกลดโอกาสการเกิดสิวอักเสบ
  • ควรเลือกผลิตภัณฑ์ให้เหมาะสมกับสภาพผิว ไม่เอาหน้าเป็นที่ลองเครื่องสำอางตามกระแส
รักษา แผลเป็นบุ๋ม แผลหลุม

หากเกิดหลุมสิวแล้ว รักษาอย่างไร?

  1. การทาผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของเรตินอล วิตามินซีซึ่งมีงานวิจัยว่าช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนและอีลาสติน
  2. การใช้ยาทา Tretinoin ที่มีคุณสมบัติช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนและผลัดเซลล์ผิว รวมถึงยังช่วยรักษาสิว
  3. การลอกผิวด้วยกรดหรือการแต้มกรด เป็นการผลัดเซลล์ผิวด้วยกรดเข้มข้น ต้องทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
  4. การทำเลเซอร์หรือคลื่นวิทยุเพื่อปลูกผิวใหม่
    • ปัจจุบันจะใช้หลักการ Fractional เป็นการลอกผิวส่วนที่ต้องการรักษาออกเพียง 10-25% โดยใช้เลเซอร์หรือคลื่นวิทยุ โดยจะมีพื้นที่ลอกจะสลับกับผิวที่ไม่ถูกลอก ซึ่งจะต่างจากการลอกแบบ conventional ที่ลอกผิวออกทั้งหมด
    • ข้อดีของระบบ Fractional คือผิวที่ไม่ถูกลอกจะช่วยกระตุ้นให้การซ่อมแผลไวขึ้น ลดระยะพักหน้า ลดผลข้างเคียงเรื่องภาวะดำหรือด่างหลังเลเซอร์
  5. การทำ Micro-needling หรือการกระตุ้นรูขุมขนด้วยเข็ม เป็นการทำให้ผิวเกิดรูเล็กๆ ทั่วบริเวณรักษา เมื่อผิวเกิดแผลก็จะทำให้เกิดการซ่อมแซมผิวตามมา จะช่วยให้หลุมสิวดูตื้น ผิวเรียบเนียนขึ้น
  6. การฉีดสารเติมเต็มใต้ผิว เป็นการเติมสารที่ช่วยเติม volume ส่วนที่หายไปให้เต็มได้แก่ ไฮยาลูโลนิกเอซิด, ไขมัน
  7. การตัดผังผืดใต้ผิว (Subcision) เป็นการตัดผังผืดที่ดึงรั้งผิวออก ทำให้แผลยกตัวได้ดีขึ้น โดยใช้เข็มในการกวาดหรือตัดผังผืดหรือใช้ลมที่อัดความเร็วแรงในการตัด แต่วิธีตัดมาตรฐานคือการตัดด้วยเข็ม Nakor ซึ่งเป็นเข็มชนิดพิเศษที่ออกแบบมาพิเศษให้ตัดผังผืดโดยเฉพาะ
  8. การผ่าตัดแผลเป็นออก

การรักษาหลุมสิวต้องทำกี่ครั้ง?

  ขึ้นกับความรุนแรงและความพอใจของคนไข้

รักษาหลุมทุกชั้นผิว
เพื่อผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้น

ที่มิ่งขวัญคลินิกเรารักษาหลุมสิวด้วยวิธีใด?

รักษาด้วยการ Combined technique เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีที่สุด เพราะปัญหาหลุมสิวเกิดได้จากผิวทุกชั้นโดยใช้
  • Double lasers and subcisions เป็นการรักษาหลุมสิวทุกชั้นผิวโดยใช้เลเซอร์ 2 ชนิดรักษาผิวชั้นบนและการตัดพังผืดหลุมสิวด้วยเครื่องมือพิเศษ ทำให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดในการรักษาหลุมสิว
  • Fractional CO2 Laser ซึ่งเป็น Gold standard ในการรักษาหลุมสิว เพื่อกระตุ้นผิวด้านบนให้สร้างคอลลาเจนใหม่ ทำให้รูขุมขนหลุมสิวผิวดูละเอียด เรียบเนียน
  • TCA cross เป็นการรักษาหลุมแบบจิกที่ลึกลงไปถึงผิวชั้นลึก เป็นการกระตุ้นลงไปที่ก้นของหลุมโดยตรง

หลุมสิว รู้จักวิธีป้องกันและรักษาก่อนเข้าคลินิกกัน Read More »

แผลเป็นรักษาอย่างไรดี เกิดจากอะไร และป้องกันได้ยังไง

แผลเป็นรักษาอย่างไรดี เกิดจากอะไร และป้องกันได้ยังไง

  บทความนี้หมอเขียนขึ้นเพื่ออธิบายสาเหตุของการเกิดแผลเป็น แผลเป็นมีกี่แบบ แผลนูน คีลอยด์ หลุมสิว ผิวแตกรักษาได้อย่างไร แผลเป็นป้องกันได้หรือไม่ ต้องดูแลแผลอย่างไรค่ะ

แผลเป็นเกิดจากสาเหตุอะไร?

  แผลเป็นเกิดจากกลไกการซ่อมแซมตัวเองหลังจากที่ผิวของเราบาดเจ็บ โดยผิวของเราจะซ่อมแซมตัวเองโดยการสร้างเนื้อเยื่อใหม่ที่จะดึงขอบแผลเข้ามาชนกันและเติมเนื้อที่หายไป โดยปกติแล้วการซ่อมแซมของแผลไม่จำเป็นที่จะเกิดแผลเป็นทุกครั้ง อาจเกิดหรือไม่เกิดก็ได้

แผลเป็นมีกี่ชนิด? ป้องกันและรักษาอย่างไร?

สามารถแบ่งคร่าวๆ ได้ 4 ชนิด
  1. แผลเป็นชนิดนูน ซึ่งสามารถแบ่งย่อยได้อีก 2 ชนิด แผลเป็นนูน คีลอยด์
    1. แผลเป็นนูนเกิน (Hypertrophic scar)
      • เกิดได้กับทุกคน แต่มักเกิดกับแผลในบริเวณที่มีความตึงมากเช่น แผ่นหลัง บ่า หน้าอก ข้อต่อหรือแผลเย็บที่มีการรั้งของแผลมาก
      • ลักษณะ: แผลเป็นนูนไม่เกิน 4 มิลลิเมตร ขนาดไม่ใหญ่กว่าแผลเดิม
      • การดำเนินโรค: ระยะแรกอาจจะมีสีแดง นูน เมื่อเวลาผ่านไปสีก็จะจางลงและอาจจะมีขนาดเล็กลงหรือเรียบไปเอง สามารถยุบได้เองภายใน 6 เดือนแรกถึง 3 ปี
      • การป้องกัน: สามารถป้องกันโดยการใช้แผ่นซิลิโคนแปะแผลไว้หลังจากเกิดแผล
      • การรักษา: ฉีดตัวยาเข้าไปที่แผลให้แผลนูนยุบลง โดยจะฉีดต่อเนื่องทุกเดือนจนแผลเรียบ
    2. แผลเป็นคีลอยด์ (Keloids) (อ่านเพิ่มเติมต่อใน คีลอยด์คืออะไร-รักษาอย่างไร?)
      • อาจมีเรื่องพันธุ์กรรม เชื้อชาติมาเกี่ยวข้อง
      • เกิดหลังได้รับบาดแผลที่ผิวหนัง ไม่ว่าจะเป็นแผลจากการเจาะตามร่างกาย แผลไหม้ แผลจากสิว แผลผ่าตัด หรือในบ้างเคสแม้แต่แผลขีดข่วน แผลยุงกัดสามารถเกิดเป็นคีลอยด์ได้
      • ลักษณะ: แผลเป็นนูน อาจเป็นก้อน หรือขีดหนาๆ สีแดงหรือน้ำตาล เวลาจับจะแข็งๆคล้ายยางลบ ขยายขนาดเกินขอบแผลเดิมมาก อาจมีอาการคัน เจ็บๆ แสบๆ ได้
      • การดำเนินโรค: ขยายขนาดได้เรื่อยๆ ไม่หายเอง รักษายาก หลังรักษาแล้วอาจกลับมาขึ้นอีกได้ (อัตราการกลับมาขึ้นใหม่อยู่ที่ 50%)
      • การป้องกัน: สามารถป้องกันโดยการใช้แผ่นซิลิโคนแปะแผลไว้หลังจากเกิดแผล แต่ผลลัพธ์ไม่ได้ดีเหมือนกรณีแผลเป็นนูน
      • การรักษา: การรักษามีหลายวิธีขึ้นกับขนาดและตำแหน่ง เช่นการฉีดยาให้คีลอยด์ยุบ การใช้เลเซอร์หรือความเย็นจี้ออก การผ่าตัดเอาก้อนคีลอยด์ออก แต่ไม่ว่าเป็นการรักษาแบบไหนก็มีโอกาสที่คีลอยด์จะกลับมาเป็นซ้ำ หลังรักษาตัวหมอเองจะแนะนำให้คนไข้ใช้แผ่นซิลิโคนแปะแผลไว้เสมอ
    3. รักษา คีลอยด์
  2. แผลเป็นบุ๋มหรือเป็นหลุม (Atrophic scar)
    • เกิดการทำลายของผิว ไขมันใต้ผิว จะเกิดแผลเป็นชนิดหลุม ร่วมถึงอาจเกิดผังผืดมาดึงรั้งด้านล่างของแผลทำให้หลุมดูลึกขึ้น
    • สาเหตุที่ทำให้เกิดหลุมคือการอักเสบของแผลที่มีมาก เช่น สิวอักเสบ สิวหัวช้าง แผลอีสุกอีใส
    • แบ่งได้ 3 ชนิดคือ หลุมจิก หลุมกล่อง หลุมแบบคลื่น ประเภท แผลเป็นบุ๋ม แผลหลุม
      1. หลุมจิก (Ice pick scar) ลักษณะเป็นหลุมปากแคบ (ไม่เกิน 2 มิลลิเมตร) ก้นแผลแหลมคล้ายรูปกรวย มีการทำลายไปถึงชั้นหนังแท้ เป็นชนิดที่ลึกสุดและรักษายากสุด
      2. หลุมกล่อง (Boxcar scar) ลักษณะคล้ายกล่อง ปากกว้าง (ขนาดประมาณ 1.5-4 มิลลิเมตร) ก้นแผลกว้าง ขอบหลุมจะคมชัด เป็นแผลที่เกิดในอีสุกอีใสหรือสิว
      3. หลุมคลื่น (Rolling scar) ลักษณะคล้ายคลื่น ขอบหลุมไม่คม โค้งคล้ายกระทะ (ขนาดประมาณ 4-5 มิลลิเมตร) เกิดจากการที่แผลมีผังผืดมาดึงรั้ง
    • การป้องกัน:
      • ในวัยรุ่น หากเป็นสิว ควรรีบรักษา ไม่ควรปล่อยไว้เรื้อรัง เนื่องจากสิวอักเสบทุกเม็ดมีโอกาสทำให้เกิดหลุมสิว
      • ควรฉีดวัคซีนป้องกันอีสุกอีใส หากติดเชื้ออีสุกอีใสแล้ว ไม่ควรแกะหรือเกาแผล
    • การรักษา:
      • ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของเรตินอล วิตามินซีซึ่งมีงานวิจัยว่าช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนและอีลาสตินได้
      • ใช้ยาทา Tretinoin
      • ลอกผิวด้วยกรด
      • การทำเลเซอร์หรือคลื่นวิทยุเพื่อปลูกผิวใหม่
      • การฉีดสารเติมเต็มใต้ผิว
      • การตัดผังผืดใต้ผิว (Subcision)
      • การผ่าตัดแผลเป็นออก
  3. รักษา แผลเป็นบุ๋ม แผลหลุม
  4. รอยแตกลาย (Stretch marks) รอยแตกลาย เกิดจาก ป้องกัน รักษา
    • เกิดจาก: การฉีกขาดของผิวชั้นในจากการยืดของผิวอย่างรวดเร็ว เช่น ตั้งครรภ์, น้ำหนักขึ้นอย่างรวดเร็ว, วัยรุ่นช่วงยืดตัว, ผู้ที่เล่นกล้ามหรือเกิดจากการใช้สเตอรอยด์นานๆ รวมถึงผู้มีกรรมพันธุ์ที่เกิดรอยแตกง่าย
    • ลักษณะ: รอยแตกเป็นริ้วยาวๆ มักเกิดตามบริเวณที่มีการยืดขยายอย่างรวดเร็ว
    • การดำเนินโรค: เริ่มแรกสีแดงระยะแรกรอยแตกจะเป็นสีแดงซึ่งเป็นสีของเส้นเลือดใต้ผิวหนังที่อยู่ใต้รอยฉีก และเมื่อเกิดการซ่อมแซม ก็จะมีการสร้างคอลลาเจนใหม่มาทับทำให้รอยแตกลายจะเปลี่ยนเป็นสีขาวแวว และจะไม่สามารถกลับไปเป็นผิวปกติได้
    • การป้องกัน:
      • ทาครีมบำรุงให้ผิวชุ่มชื้นเสมอ อาจเลือกเป็นกลุ่มน้ำมันหรือครีมเนื้อหนัก
      • ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เน้นโปรตีน
      • ควบคุมน้ำหนัก
    • การรักษา: โดยปกติจะรักษาด้วยเหตุผลเรื่องความสวยงาม การรักษาเพียงทำให้รอยแตกดีขึ้นมาก แต่ไม่สามารถทำให้ผิวบริเวณนั้นกลับมาเป็นปกติ 100%
      • การทายาหรือผลิตภัณฑ์ที่ช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน เช่น กรดวิตามินเอ วิตามินซี
      • การลอกผิวด้วยกรด
      • การทำเลเซอร์
      • ทำการกระชับผิวที่ยืดด้วยคลื่นวิทยุ
      • การฉีดตัวยา Mesotherapy
      • การฉีด Carboxy
      • การสักสีเข้าไปบริเวณแผลแตกลาย
  5. แผลที่มีการหดรั้งของแผล (Contracture scars) ทำให้เกิดการดึงรั้งหรือผิดรูปของอวัยวะเช่นแผลไหม้ (Burn)
    • การรักษา: มีตั้งแต่การผ่าตัดเพื่อตัดผังผืดที่รั้งออก ทำให้ข้อสามารถขยับได้ปกติ การฉีดยาให้แผลนูนยุบและนิ่มขึ้น รวมถึงการรักษาด้วยเวชศาสตร์ฟื้นฟูให้สามารถยืดหรือเหยียดข้อนั้นให้ปกติ

ปัจจัยอะไรบ้างที่ส่งผลให้เกิดแผลเป็น?

  1. เหตุของการเกิดแผล เช่น แผลไฟไหม้เกิดแผลที่มีการหดรั้ง ติดไวรัสเช่นอีสุกอีใสเป็นแผลหลุมกล่องแผลผ่าตัด แผลแตกลาย
  2. ตำแหน่งและความรุนแรง เช่น บริเวณที่มีความตึงมากเช่นหน้าอก ข้อศอกชอบเกิดแผลนูน
  3. การรักษาที่ได้รับเมื่อเกิดแผลนั้น
  4. กรรมพันธุ์, เชื้อชาติ

แผลเป็นรักษาอย่างไรดี เกิดจากอะไร และป้องกันได้ยังไง Read More »