แผลเป็นรักษาอย่างไรดี เกิดจากอะไร และป้องกันได้ยังไง
บทความนี้หมอเขียนขึ้นเพื่ออธิบายสาเหตุของการเกิดแผลเป็น แผลเป็นมีกี่แบบ แผลนูน คีลอยด์ หลุมสิว ผิวแตกรักษาได้อย่างไร แผลเป็นป้องกันได้หรือไม่ ต้องดูแลแผลอย่างไรค่ะ
สารบัญ คลิกอ่าน
แผลเป็นเกิดจากสาเหตุอะไร?
แผลเป็นเกิดจากกลไกการซ่อมแซมตัวเองหลังจากที่ผิวของเราบาดเจ็บ โดยผิวของเราจะซ่อมแซมตัวเองโดยการสร้างเนื้อเยื่อใหม่ที่จะดึงขอบแผลเข้ามาชนกันและเติมเนื้อที่หายไป โดยปกติแล้วการซ่อมแซมของแผลไม่จำเป็นที่จะเกิดแผลเป็นทุกครั้ง อาจเกิดหรือไม่เกิดก็ได้
แผลเป็นมีกี่ชนิด? ป้องกันและรักษาอย่างไร?
สามารถแบ่งคร่าวๆ ได้ 4 ชนิด-
แผลเป็นชนิดนูน ซึ่งสามารถแบ่งย่อยได้อีก 2 ชนิด
-
แผลเป็นนูนเกิน (Hypertrophic scar)
- เกิดได้กับทุกคน แต่มักเกิดกับแผลในบริเวณที่มีความตึงมากเช่น แผ่นหลัง บ่า หน้าอก ข้อต่อหรือแผลเย็บที่มีการรั้งของแผลมาก
- ลักษณะ: แผลเป็นนูนไม่เกิน 4 มิลลิเมตร ขนาดไม่ใหญ่กว่าแผลเดิม
- การดำเนินโรค: ระยะแรกอาจจะมีสีแดง นูน เมื่อเวลาผ่านไปสีก็จะจางลงและอาจจะมีขนาดเล็กลงหรือเรียบไปเอง สามารถยุบได้เองภายใน 6 เดือนแรกถึง 3 ปี
- การป้องกัน: สามารถป้องกันโดยการใช้แผ่นซิลิโคนแปะแผลไว้หลังจากเกิดแผล
- การรักษา: ฉีดตัวยาเข้าไปที่แผลให้แผลนูนยุบลง โดยจะฉีดต่อเนื่องทุกเดือนจนแผลเรียบ
-
แผลเป็นคีลอยด์ (Keloids) (อ่านเพิ่มเติมต่อใน คีลอยด์คืออะไร-รักษาอย่างไร?)
- อาจมีเรื่องพันธุ์กรรม เชื้อชาติมาเกี่ยวข้อง
- เกิดหลังได้รับบาดแผลที่ผิวหนัง ไม่ว่าจะเป็นแผลจากการเจาะตามร่างกาย แผลไหม้ แผลจากสิว แผลผ่าตัด หรือในบ้างเคสแม้แต่แผลขีดข่วน แผลยุงกัดสามารถเกิดเป็นคีลอยด์ได้
- ลักษณะ: แผลเป็นนูน อาจเป็นก้อน หรือขีดหนาๆ สีแดงหรือน้ำตาล เวลาจับจะแข็งๆคล้ายยางลบ ขยายขนาดเกินขอบแผลเดิมมาก อาจมีอาการคัน เจ็บๆ แสบๆ ได้
- การดำเนินโรค: ขยายขนาดได้เรื่อยๆ ไม่หายเอง รักษายาก หลังรักษาแล้วอาจกลับมาขึ้นอีกได้ (อัตราการกลับมาขึ้นใหม่อยู่ที่ 50%)
- การป้องกัน: สามารถป้องกันโดยการใช้แผ่นซิลิโคนแปะแผลไว้หลังจากเกิดแผล แต่ผลลัพธ์ไม่ได้ดีเหมือนกรณีแผลเป็นนูน
- การรักษา: การรักษามีหลายวิธีขึ้นกับขนาดและตำแหน่ง เช่นการฉีดยาให้คีลอยด์ยุบ การใช้เลเซอร์หรือความเย็นจี้ออก การผ่าตัดเอาก้อนคีลอยด์ออก แต่ไม่ว่าเป็นการรักษาแบบไหนก็มีโอกาสที่คีลอยด์จะกลับมาเป็นซ้ำ หลังรักษาตัวหมอเองจะแนะนำให้คนไข้ใช้แผ่นซิลิโคนแปะแผลไว้เสมอ
-
แผลเป็นนูนเกิน (Hypertrophic scar)
-
แผลเป็นบุ๋มหรือเป็นหลุม (Atrophic scar)
- เกิดการทำลายของผิว ไขมันใต้ผิว จะเกิดแผลเป็นชนิดหลุม ร่วมถึงอาจเกิดผังผืดมาดึงรั้งด้านล่างของแผลทำให้หลุมดูลึกขึ้น
- สาเหตุที่ทำให้เกิดหลุมคือการอักเสบของแผลที่มีมาก เช่น สิวอักเสบ สิวหัวช้าง แผลอีสุกอีใส
-
แบ่งได้ 3 ชนิดคือ หลุมจิก หลุมกล่อง หลุมแบบคลื่น
- หลุมจิก (Ice pick scar) ลักษณะเป็นหลุมปากแคบ (ไม่เกิน 2 มิลลิเมตร) ก้นแผลแหลมคล้ายรูปกรวย มีการทำลายไปถึงชั้นหนังแท้ เป็นชนิดที่ลึกสุดและรักษายากสุด
- หลุมกล่อง (Boxcar scar) ลักษณะคล้ายกล่อง ปากกว้าง (ขนาดประมาณ 1.5-4 มิลลิเมตร) ก้นแผลกว้าง ขอบหลุมจะคมชัด เป็นแผลที่เกิดในอีสุกอีใสหรือสิว
- หลุมคลื่น (Rolling scar) ลักษณะคล้ายคลื่น ขอบหลุมไม่คม โค้งคล้ายกระทะ (ขนาดประมาณ 4-5 มิลลิเมตร) เกิดจากการที่แผลมีผังผืดมาดึงรั้ง
-
การป้องกัน:
- ในวัยรุ่น หากเป็นสิว ควรรีบรักษา ไม่ควรปล่อยไว้เรื้อรัง เนื่องจากสิวอักเสบทุกเม็ดมีโอกาสทำให้เกิดหลุมสิว
- ควรฉีดวัคซีนป้องกันอีสุกอีใส หากติดเชื้ออีสุกอีใสแล้ว ไม่ควรแกะหรือเกาแผล
-
การรักษา:
- ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของเรตินอล วิตามินซีซึ่งมีงานวิจัยว่าช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนและอีลาสตินได้
- ใช้ยาทา Tretinoin
- ลอกผิวด้วยกรด
- การทำเลเซอร์หรือคลื่นวิทยุเพื่อปลูกผิวใหม่
- การฉีดสารเติมเต็มใต้ผิว
- การตัดผังผืดใต้ผิว (Subcision)
- การผ่าตัดแผลเป็นออก
-
รอยแตกลาย (Stretch marks)
- เกิดจาก: การฉีกขาดของผิวชั้นในจากการยืดของผิวอย่างรวดเร็ว เช่น ตั้งครรภ์, น้ำหนักขึ้นอย่างรวดเร็ว, วัยรุ่นช่วงยืดตัว, ผู้ที่เล่นกล้ามหรือเกิดจากการใช้สเตอรอยด์นานๆ รวมถึงผู้มีกรรมพันธุ์ที่เกิดรอยแตกง่าย
- ลักษณะ: รอยแตกเป็นริ้วยาวๆ มักเกิดตามบริเวณที่มีการยืดขยายอย่างรวดเร็ว
- การดำเนินโรค: เริ่มแรกสีแดงระยะแรกรอยแตกจะเป็นสีแดงซึ่งเป็นสีของเส้นเลือดใต้ผิวหนังที่อยู่ใต้รอยฉีก และเมื่อเกิดการซ่อมแซม ก็จะมีการสร้างคอลลาเจนใหม่มาทับทำให้รอยแตกลายจะเปลี่ยนเป็นสีขาวแวว และจะไม่สามารถกลับไปเป็นผิวปกติได้
-
การป้องกัน:
- ทาครีมบำรุงให้ผิวชุ่มชื้นเสมอ อาจเลือกเป็นกลุ่มน้ำมันหรือครีมเนื้อหนัก
- ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เน้นโปรตีน
- ควบคุมน้ำหนัก
-
การรักษา: โดยปกติจะรักษาด้วยเหตุผลเรื่องความสวยงาม การรักษาเพียงทำให้รอยแตกดีขึ้นมาก แต่ไม่สามารถทำให้ผิวบริเวณนั้นกลับมาเป็นปกติ 100%
- การทายาหรือผลิตภัณฑ์ที่ช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน เช่น กรดวิตามินเอ วิตามินซี
- การลอกผิวด้วยกรด
- การทำเลเซอร์
- ทำการกระชับผิวที่ยืดด้วยคลื่นวิทยุ
- การฉีดตัวยา Mesotherapy
- การฉีด Carboxy
- การสักสีเข้าไปบริเวณแผลแตกลาย
-
แผลที่มีการหดรั้งของแผล (Contracture scars) ทำให้เกิดการดึงรั้งหรือผิดรูปของอวัยวะเช่นแผลไหม้ (Burn)
- การรักษา: มีตั้งแต่การผ่าตัดเพื่อตัดผังผืดที่รั้งออก ทำให้ข้อสามารถขยับได้ปกติ การฉีดยาให้แผลนูนยุบและนิ่มขึ้น รวมถึงการรักษาด้วยเวชศาสตร์ฟื้นฟูให้สามารถยืดหรือเหยียดข้อนั้นให้ปกติ
ปัจจัยอะไรบ้างที่ส่งผลให้เกิดแผลเป็น?
- เหตุของการเกิดแผล เช่น แผลไฟไหม้เกิดแผลที่มีการหดรั้ง ติดไวรัสเช่นอีสุกอีใสเป็นแผลหลุมกล่องแผลผ่าตัด แผลแตกลาย
- ตำแหน่งและความรุนแรง เช่น บริเวณที่มีความตึงมากเช่นหน้าอก ข้อศอกชอบเกิดแผลนูน
- การรักษาที่ได้รับเมื่อเกิดแผลนั้น
- กรรมพันธุ์, เชื้อชาติ