คีลอยด์เกิดจากอะไร เข้าคลินิกแล้วจะรักษายังไงบ้าง
คีลอยด์จัดเป็นแผลเป็นประเภทนึงที่มีขนาดใหญ่และสร้างความไม่สบายใจ(และสบายตา)เป็นอย่างมาก และคำถามที่หมอเจอบ่อยมากในคลินิกก็คือจะรู้ได้อย่างไรว่าแผลเป็นนี้เป็นแผลเป็นนูนหรือคีลอยด์ แล้วมันเกิดจากอะไร มีวิธีรักษาอย่างไรกันบ้าง เรามาดูรายละเอียดกันค่ะ
สารบัญ คลิกอ่าน
- คีลอยด์ (Keloids) คืออะไร?
- คีลอยด์มีลักษณะอย่างไร?
- คีลอยด์เกิดตำแหน่งไหน?
- ทำไมถึงเกิดคีลอยด์?
- คีลอยด์อันตรายหรือไม่?
- จะรู้ได้อย่างไรว่า เราเป็นแผลคีลอยด์ได้ง่ายหรือไม่?
- เราสามารถป้องกันการเกิดคีลอยด์ได้อย่างไร?
- คีลอยด์หายเองได้หรือไม่?
- คีลอยด์รักษาอย่างไร?
- การฉีดยารักษาคีลอยด์ทำอย่างไร? ต้องทำกี่ครั้ง?
- การผ่าคีลอยด์ออกทำอย่างไร? เจ็บแต่จบหรือไม่?
- คีลอยด์เมื่อรักษาแล้วมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำหรือไม่?
- แผลนูนทุกชนิดคือคีลอยด์หรือไม่?
- แผลนูนเกิน (Hypertrophic scar) ต่างจากแผลคีลอยด์ (Keloid)อย่างไร?
เคสรีวิวรักษาคีลอยด์/แผลเป็นนูน
ด้วยเลเซอร์และยา ลด 50%
คีลอยด์ (Keloids) คืออะไร?
แผลเป็นนูนที่เกิดจากการซ่อมแซมอย่างผิดปกติทำให้มีขนาดใหญ่นูนกว่ารอยแผลเดิมกว่า อาจเกิดภายหลังเกิดหลังเกิดแผลทันทีหรืออาจเกิดเมื่อแผลหายดีแล้ว
คีลอยด์มีลักษณะอย่างไร?
- ก้อนแผลเป็นนูนอาจเป็นก้อนหรือเป็นขีดหนาตามลักษณะของแผลเดิม ขยายขนาดได้เรื่อยๆ
- มีสีแดง น้ำตาลหรือม่วงเข้ม
- เวลาจับจะแข็งๆแน่นๆคล้ายยางลบ
- โดยจะมีขนาดใหญ่กว่ารอยแผลเดิมมาก
- อาจมีอาการคัน เจ็บๆ แสบๆ ร่วมด้วย
คีลอยด์เกิดตำแหน่งไหน?
สามารถเกิดได้ทุกตำแหน่งที่เกิดการบาดเจ็บของผิว ไม่ว่าจะเป็นการเจาะหู รอยเกา รอยถลอก รอยแผลสิว รอยผ่าตัด แผลอีสุกอีใส
ทำไมถึงเกิดคีลอยด์?
- เชื่อว่าเกิดจากกรรมพันธุ์ ถ้าพ่อแม่เป็น ลูกมีโอกาสเป็น
- จากการศึกษาพบว่าเกิดในคนที่ผิวเข้มมากกว่าคนผิวขาว โดยคนแอฟริกา คนเอเชีย คนลาตินพบว่าเกิดคีลอยด์มากกว่าฝรั่งขาวหรือคอเคเซียน
คีลอยด์อันตรายหรือไม่?
ไม่ก่อให้เกิดอันตราย ปกติเราจะรักษาด้วยสาเหตุเรื่องของความสวยงามหรือมีอาการเจ็บแสบคัน
จะรู้ได้อย่างไรว่า เราเป็นแผลคีลอยด์ได้ง่ายหรือไม่?
- ดูจากแผลปลูกฝี BCG ตอนทารกที่ต้นแขน
- ประวัติคนในครอบครัว มีคีลอยด์ง่าย
เราสามารถป้องกันการเกิดคีลอยด์ได้อย่างไร?
- ผู้ที่เกิดคีลอยด์ง่าย ควรระวังการเกิดแผลเพราะมีโอกาสที่แม้แต่การเจาะหูก็อาจได้ตุ้มหูคีลอยด์แถมมา
- ใช้แผ่นซิลิโคนแปะแผลไว้หลังจากเกิดแผล แต่ผลที่ได้ก็ไม่แน่นอน
คีลอยด์หายเองได้หรือไม่?
คีลอยด์ไม่สามารถยุบลงเองได้ ต้องทำการรักษา
เคสรีวิวรักษาคีลอยด์/แผลเป็นนูน
ด้วยเลเซอร์และยา ลด 50%
คีลอยด์รักษาอย่างไร?
การรักษามีหลายวิธีขึ้นกับขนาดและตำแหน่งเช่นการฉีดยาให้คีลอยด์ยุบ การใช้เลเซอร์หรือความเย็นจี้ออก การใช้เลเซอร์ลดความแดง การผ่าตัดเอาก้อนคีลอยด์ออก การใช้แผ่นแปะกดก้อนคีลอยด์ไว้ แต่ไม่ว่าเป็นการรักษาแบบไหนก็มีโอกาสที่คีลอยด์จะกลับมาเป็นซ้ำ หลังรักษาตัวหมอเองจะแนะนำให้คนไข้ใช้แผ่นซิลิโคนแปะแผลไว้เสมอ
การฉีดยารักษาคีลอยด์ทำอย่างไร? ต้องทำกี่ครั้ง?
ตัวยาที่ใช้หลักในการฉีดคือคอร์ติโคสเตียรอยด์ เป็นการรักษาตามมาตรฐานที่ปลอดภัยและไม่เจ็บมาก โดยแพทย์จะเป็นผู้ฉีดตัวยาเข้าไปในก้อนคีลอยด์ ทำเดือนละ 1 ครั้งต่อเนื่องไปเรื่อยจนกระทั่งคนไข้พอใจ
การผ่าคีลอยด์ออกทำอย่างไร? เจ็บแต่จบหรือไม่?
คือการตัดก้อนคีลอยด์ออกแล้วเย็บขอบแผลมาชนกัน เป็นหนึ่งในวิธีรักษาคีลอยด์ แต่ก็ถือว่ามีความเสี่ยงเพราะการผ่าตัดก็ทำให้ผิวเกิดการบาดเจ็บ มีโอกาสที่คีลอยด์จะกลับมาเป็นซ้ำ ดังนั้นหลังทำแพทย์จะใช้วิธีอื่นร่วมด้วยเช่นการฉีดยาหรือการกดด้วยแผ่นซิลิโคน
คีลอยด์เมื่อรักษาแล้วมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำหรือไม่?
คีลอยด์ถือเป็นโรคที่รักษายาก เมื่อรักษาไปแล้วมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำถึง 50%
แผลนูนทุกชนิดคือคีลอยด์หรือไม่?
- แผลเป็นนูนเกิน (Hypertrophic scar)
- คีลอยด์ (Keloid)
แผลนูนเกิน (Hypertrophic scar) ต่างจากแผลคีลอยด์ (Keloid)อย่างไร?
- แผลนูนเกิน เกิดได้กับทุกคน มักเกิดในบริเวณที่มีความตึงมาก ขนาดไม่ใหญ่กว่าแผลเดิม สูงไม่เกิน 4 มิลลิเมตร แผลมีสีเนื้อหรือน้ำตาลอ่อน หายเองได้ภายใน 6 เดือนถึง 3 ปี
- แผลคีลอยด์มีกรรมพันธุ์มาเกี่ยวข้อง เกิดได้ทุกที่ที่ผิวบาดเจ็บ ขนาดใหญ่กว่าแผลเดิมมาก ขยายขนาดได้เรื่อยๆ ก้อนแข็งคล้ายยางลบ มีสีแดง น้ำตาลหรือม่วง ไม่หายเอง
รักษาคีลอยด์
ที่มิ่งขวัญคลินิก